วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ถาม-ตอบเรื่องความรู้เกี่ยวกับต้นกล้วย


ถาม-ตอบ เรื่องความรู้เกี่ยวกับต้นกล้วย

คำถามที่ 1
 ต้นกล้วยหลังจากตัดเครือไปแล้ว ต้องตัดทิ้งไปเฉย ๆ เลยหรือเขากำจัดกันอย่างไรขายได้ปล่าว  แล้วใบตองล่ะ ถ้าโดนลมแตกบ้าง ขายได้ปล่าว และกล้วยชนิดใดบ้างที่ขายใบตองได้ 
  
ตอบข้อ 1.ทำอย่างอื่นไม่ได้ครับนอกจากปุ๋ย ตัดเป็นท่อนๆแล้ววางไว้โคนกล้วยนั่นแหละ ใบต้นที่ออกลูกแล้วขายไม่ได้หรอกครับแก่ไป ใบตองที่นิยมใช้(เท่าที่รู้)ก็มีกล้วยตานีกับกล้วยป่าแหละครับ กล้วยตานีใช้ในการประดิษฐ์เพราะหนาเหนียวไม่เหี่ยวง่าย ส่วนกล้วยป่าใช้ห่ออาหารเพราะนิ่มแต่เหนียวไม่แตกง่าย แต่ที่ใช้ๆกันก็กล้วยน้ำว้าแหละครับหาง่ายดี

คำถามที่ 2 
 มีกูรูกล้วยบอกว่า เอาหน่อลงดินแล้ว พอเค้าทำท่าจะฟื้นรากเดินแน่แล้ว  ให้ปาดยอดทิ้งเกือบครึ่งต้นเพื่อให้ใบงอกแทงขึ้นมาเร็วใหญ่เร็ว จริงปล่าว

ตอบข้อ 2.ใช่ครับ แต่ก็ปาดยอดได้ตั้งแต่เริ่มลงปลูกแล้วครับ เพราะถ้ามีใบด้วยมันจะคายน้ำเร็วครับทำให้เหี่ยวง่าย แต่ถ้าเป็นหน่อปลายแหลมก็ไม่ต้องตัดครับ(ใช้หน่อปลายแหลมปลูกจะดีที่สุด)

คำถามที่ 3 
      ถ้าหน่อยกล้วยต้นเล็ก ๆ ผอมชลูดเชียว แล้วเอามาปลูกเค้าจะงามไหม

ตอบข้อ 3.ถ้าหาแบบอื่นไม่ได้ก็ใช้ได้ครับแต่จะรัดช้า ตัดยอดก่อนปลูก เพราะหน่อแบบนี้ใบใหญ่แล้ว

คำถามที่ 4 
  ก่อนปลูกลงหน่อให้เอามีดปาดรากออกให้หมด รวมทั้งปาดตาที่ทำท่าว่าจะแตกหน่ออออกทิ้งใช่ปล่าว

ตอบข้อ 4.ใช่ครับ

คำถามที่ 5 
 มีวิธีให้ต้นกล้วยที่ปลูกเป็นแถว เป็นแนว ยาวเหยียด ออกเครือไปทางเดียวกันใช่ไหม

ตอบข้อ 5.ใช่ครับ หน่อที่เราแทงหรือขุดแยกมาจากต้นแม่จะมีรอยที่ติดแล้วโดนแยกมาจากต้นแม่ นั่นแหละครับกล้วยจะตกเครือด้านตรงข้ามกับรอยนั้นแหละครับ ตอนปลูกจะให้กล้วยออกทางไหนก็หันรอยให้ตรงข้ามกับด้านนั้น แต่ก็จะได้แค่ต้นแรก(หน่อที่ปลูก)นั่นนะครับพอกล้วยออกหน่อมาใหม่(ต้นต่อไปก็จะออกไปตามทางของมัน แต่ก็คือทางตรงข้ามกับต้นแม่นั่นแหละ

ความรู้เกี่ยวกับต้นกล้าย

ต้นกล้วย
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ 

Photo of a banana corm growing from loamy soil
หัวกล้วย เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม (10 นิ้ว)
กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่[1] ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว" หรือ "เหง้า"[2] ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนที่คล้ายกับลำต้นคือ "ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลำต้นเทียม มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลำต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน[3] พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร (16 ฟุต) จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 เมตร (23 ฟุต) หรือมากกว่า[4][5] ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.9 ฟุต) และกว้าง 60 ซม (2.0 ฟุต)[6] แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว[7] ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทำให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น[8] รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึกเมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง"[7] จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลำต้นเทียม[9] แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว[10]) ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี"[7] (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี"[7] รังไข่อยู่ต่ำกว่าซึ่งหมายความว่ากลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่[11] หลังให้ผล ลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ"[7] ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่[12]
ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด[7]

ดอกตัวเมีย (ซึ่งจะเจริญไปเป็นผล) มีกลีบดอกและส่วนอื่นที่ปลายรังไข่ (รังไข่อยู่ต่ำกว่า (inferior))
ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)"[13] มีชั้นป้องกันภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย เหลือแค่เพียงจุดสีดำเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น

การจำแนกตามลักษณะทางพันธุกรรม 

หลังปี ค.ศ. 1955 นักวิชาการได้จำแนกพันธุ์กล้วยตามพันธุกรรมโดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกพันธุ์ กล้วยที่นิยมบริโภคกันในปัจจุบันมีบรรพบุรุษเพียง 2 ชนิด คือ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมเป็น AA กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนมเป็น BB ส่วนกล้วยที่เกิดจากลูกผสมของกล้วยทั้ง 2 ชนิดจะมีจีโนมแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ซิมมอนด์และเชปเฟิดได้เสนอให้ใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยารวมทั้งหมด 15 ลักษณะ มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คือ สีของกาบใบ ร่องของกาบใบ ก้านช่อดอก ก้านดอก ออวุล ไหล่ของกาบปลี การม้วนของกาบปลี รูปร่างของกาบปลี ปลายของกาบปลี การซีดของกาบปลี รอยแผลของกาบปลี กลีบรวมเดี่ยว สีของดอกเพศผู้ สีของยอดเกสรเพศเมีย และสีของกาบปลี

การใช้ประโยชน์ 

กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง

อาหารที่ทำจากกล้วย 

ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด กล้วยกวน